เมืองทิมพู เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรภูฏานเมื่อ พ.ศ. 2504 ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของรัฐบาล รวมถึงฝ่ายสงฆ์ โครงการพัฒนาต่างๆ ได้เริ่มดำเนินการหลังจากสถาปนาทิมพูเป็นเมืองหลวง เมืองนี้ยังเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ด้วย
เมืองทิมพู เป็นเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมและความทันสมัยเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 100,000 คน เป็นที่รวมผู้คนจากมณฑลต่างๆ ที่อพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า เป็นเมืองที่คึกคัก เต็มไปด้วยสีสันและไม่เคยหลับไหล ในยามราตรีสามารถพบดิสโก้เธคและ Drayang หรือบาร์พร้อมเอนเตอร์เทนเนอร์ เหมาะสำหรับสัมผัสประสบการณ์ยามค่ำคืนของภูฏาน
ใช้เวลาเดินทางจากเมืองพาโรประมาณชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง (ระยะทาง 65 กิโลเมตร) เป็นหนึ่งในเมืองหลวงสองแห่งของเอเชียที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ส่วนอีกแห่งคือ กรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือ บริเวณสัญญาณไฟจราจรตามจุดสำคัญจะมีตำรวจจราจรในเครื่องแบบที่ดูสง่างาม สวมถุงมือสีขาวทำหน้าที่ควบคุม บางคนถึงกับทึ่งที่ได้เห็นตำรวจจราจรท่าทางทะมัดทะแมงคอยให้สัญญาณ ผู้ขับขี่บนท้องถนนจึงฆ่าเวลาระหว่างรอสัญญาณด้วยการดูตำรวจจราจรปฏบัติหน้าที่
นักท่องเที่ยวยังสามารถเยี่ยมชมจุดต่างๆ ในเมืองทิมพู ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้มาเยือนต้องไม่พลาดชม ดังต่อไปนี้
วัดชันกังคา ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของหุบเขาทิมพู ใจกลางวัดเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อสัมฤทธิ์ปิดด้วยทองคำของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นบุคคลาธิษฐานแทนพระเมตตาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในร่างที่ทรงแปลงกายมี 11 เศียร 1,000 กร และ 1,000 เนตร โดยลามะ Phajo Dugom Zhigpo สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 13
พ่อแม่จะพาเด็กที่เกิดในเมืองทิมพูไปวัดนี้เพราะเชื่อว่าเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของเด็กๆ ที่เกิดในหุบเขา Chang
ชื่อต่างๆ เช่น Tandin และ Sonam เป็นชื่อที่ตั้งให้กับเด็กแรกเกิดที่พ่อแม่พามารับพรจากเทพผู้ปกป้องที่วัดนามว่า Tamdrin
อารามเดเชนโพดรัง (Dechen Phodrang) อยู่สุดสายถนนกาเดน แลม (Gaden Lam) เป็นที่ตั้งของป้อมปราการเดิมของเมืองทิมพู ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสำหรับพระประจำมณฑล ปัจจุบันเป็นที่จัดการเรียนการสอนให้กับพระเกือบ 500 รูปในหลักสูตรแปดปี
ภายในอารามมีภาพวาดเก่าแก่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ของกูรู ลาคัง (Guru Lhakhang) ซึ่งผ่านการซ่อมแซมมาโดยตลอด ส่วนชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกลและ Goenkhang หรือห้องสำหรับบูชาเทพผู้คุ้มครอง ซึ่งอนุญาตให้เข้าเฉพาะผู้ชายเท่านั้น เดเชนโพดรังมีความหมายตรงตัวว่า “พระราชวังอันสุขล้น”
จุดชมวิวโดชูล่า (Dochula pass) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,050 เมตร ประดับประดาด้วยธงมนต์และมีเจดีย์ที่สร้างเรียงรายอยู่ 108 องค์ เป็นจุดชมวิวบนยอดเขาแห่งแรกในภาคตะวันตก ตั้งอยู่บนถนนที่มุ่งหน้าสู่เมืองพูนาคา ห่างจากตัวเมืองทิมพูประมาณ 23 กิโลเมตร
ในวันที่อากาศแจ่มใส ผู้มาเยือนจะได้ดื่มด่ำไปกับทัศนียภาพของเทือกเขาหิมาลัยฝั่งที่ติดกับภูฏานแบบพาโนรามา เจดีย์ทั้ง 108 องค์และวัดดรุกวังเกล (Druk Wangye Lhakhang) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญซึ่งสมเด็จพระราชินีดอร์จิ วังโม วังชุก (Dorji Wangmo Wangchuck) มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่สี่แห่งภูฏานเมื่อ พ.ศ. 2546 วัดดรุกวังเกลจะอยู่ด้านบนสุดของจุดชมวิว สามารถมองเห็นเจดีย์ 108 องค์ตั้งเรียงรายซ้อนกันเป็นวง การเดินทางมาที่นี่ใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมง
นอกจากสถานที่ดังกล่าว นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินเขาในระยะทางสั้นๆ เพื่อขึ้นไปยังวัดหลุงชูเซคา ( Lungchuzekha) ได้อีกด้วย
สถาบันแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “โรงเรียนสอนศิลปะ” เปิดสอนด้านศิลปะและงานหัตถศิลป์ของภูฏาน 13 แขนงแก่นักเรียนที่สนใจ โดยจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรแปดปีเกี่ยวเทคนิคศิลปะโบราณทั้ง 13 แขนงอาทิ การวาดภาพ งานแกะสลัก งานประติมากรรมดินเหนียว การทำหน้ากาก ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีการสอนวาดภาพบนผ้าทังก้าแบบโบราณ ซึ่งมีชาวต่างชาติบางคนที่สนใจเดินทางมายังภูฏานเพื่อเรียนรู้ศิลปะแขนงนี้ด้วย
ที่นี่ยังมีร้านจำหน่ายผลงานศิลปะของนักเรียนในราคาย่อมเยาให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อ
คุนเซลโพดรัง (จุดชมพระพุทธรูป พุทธะพ้อยท์) เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่พิเศษสุดแห่งหนึ่งของเมืองทิมพู ชาวภูฏานเรียกกันว่า Buddha Point หรือจุดชมพระพุทธรูป เพราะที่นี่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในภูฏาน หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ สูง 51.5 เมตร สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งภูฏาน โดยเป็นการร่วมทุนจากชาวพุทธหลากหลายเชื้อชาติทั่วโลก อาทิ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกงและอีกมากมาย
ใต้ฐานพระพุทธรูปแบ่งออกเป็นสามชั้น แต่ละชั้นมีห้องสำหรับประกอบพิธีทางศาสนาอยู่หลายห้อง ภายในองค์พระบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็กจำนวน 125,000 องค์ นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางเพื่อเดินทางมาสักการะองค์หลวงพ่อได้อย่างสะดวกสบาย เส้นทางนี้ยังเป็นทางสัญจรทั้งสำหรับรถยนต์ ปั่นจักรยาน วิ่งจ็อกกิ้งและเดินขึ้นเขาอีกด้วย และสามารถชมวิวของกรุงทิมพูยามค่ำคืนที่งดงามราวกับเนรมิตได้
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ สร้างขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติและเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์รัชกาลที่ 3 ของภูฏาน ซึ่งสวรรคตอย่างกะทันหันขณะประทับอยู่ต่างประเทศ โดยได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชินีอาชิ พุนโซ โชเด็น วังชุก พระมารดา และได้ทำพิธีทางศาสนาเพื่อเปิดอนุสรณ์แห่งนี้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
อนุสรณ์สถานมีสีขาวโดดเด่น มุมทั้งสี่ด้านมีเสาหินสี่ต้นกั้นเป็นอาณาบริเวณสถานแห่งนี้มีคุณค่าทางศาสนาและจิตวิญญาณของเมืองทิมพูซึ่งผู้คนมักแวะเวียนกันมาสักการะอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาพผู้สูงอายุมักจะมาเดินจงกรมรอบอนุสรณ์เพื่อ ความเป็นสิริมงคลซึ่งเห็นจนชินตา นอกจากนี้ภายในยังมีภาพจิตรกรรมและประติมากรรมที่แฝงหลักธรรมคำสอนอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้าอีกด้วย
สถาบันการแพทย์แผนโบราณแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ ที่นี่ยังเป็นสถานที่ปรุงและจ่ายยาสมุนไพร ประกอบด้วยหอผู้ป่วยนอก อาคารฝึกอบรม อาคารวิจัยและผลิตยาแผนโบราณ และห้องแสดงนิทรรศการ
แม้ว่าภูฏานจะทันสมัยขึ้นตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการแพทย์แผนโบราณ ยังมีคนบางกลุ่มที่นิยมรักษาด้วยการแพทย์แผนโบราณมากกว่าแผนปัจจุบัน ทั้งชาวภูฏานและชาวต่างชาติ
ภูฏานเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการรักษาที่น่าสนใจ โดยใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติมาสกัดเป็นยา เช่น พืช แร่ธาตุ และสัตว์บางชนิด และสถาบันแห่งนี้ยังทำหน้าที่รวบรวมพืชชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติทางยาจากพื้นที่อันห่างไกลของภูฏานทางแถบเทือกเขาหิมาลัย อย่างเมือง Lingzhi, Laya และ Lunana
หอสมุดแห่งชาติภูฏาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 เพื่อเก็บรักษาเอกสารภาษาซงข่าโบราณและทิเบต โดยอาคารหอสมุดแห่งใหม่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2544 เป็นที่เก็บรวบรวมหนังสือเก่าอายุหลายร้อยปีซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศ โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ส่วนใหญ่พิมพ์โดยใช้บล็อกพิมพ์ และยังมีหนังสือภาษาต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง เอกสารเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานิกายมหายาน รวมถึงชุดแม่พิมพ์หินที่เคยใช้ในการพิมพ์พระคัมภีร์และธงมนต์ในสมัยโบราณ
นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรวบรวมภาพถ่ายประเทศภูฏาน ยาวกว่า 2 เมตร หนัก 68 กิโลกรัมอยู่ที่หอสมุดแห่งนี้อีกด้วย
ศูนย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์ “ทาคิน” สัตว์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ พบได้เฉพาะในภูฏาน เนปาล จีน และพม่า และยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศภูฏาน เนื่องจากมีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศ มีหน้าและเขาคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา ตัวใหญ่ประมาณวัว เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในพื้นที่หนาวเย็น
ทาชิโซซอง (Tashichhodzong) หนึ่งในแลนมารค์ยอดนิยมและใหญ่ที่สุดในทิมพู ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวังชู (Wangchhu) อยู่สูงขึ้นไปจากตัวเมืองทิมพูราวสองกิโลเมตร ภายในประกอบด้วยอาคารหลังหลัก ซึ่งเป็นที่ทรงงานและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีเคเซอร์ นัมเกล วังชกุ และยังมีอาคารสำหรับฝ่ายสงฆ์ และที่ทำการคณะรัฐบาล ในช่วงฤดูร้อนคณะสงฆ์จะจำพรรษาอยู่ที่นี่ส่วนฤดูหนาวจะอยู่ที่ป้อมพูนาคา
ป้อมปราการขนาดมหึมาแห่งนี้ สรา้งโดยซับดรุง งาวัง นัมเกล เมื่อ พ.ศ. 2184 และผ่านการบูรณะต่อเติมใหม่เมื่อ พ.ศ. 2508 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์องค์ที่สามของภูฏาน
ตามประวัติการสร้างป้อมแห่งนี้ย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 1759 ลามะเกลวา ลานังพา (Gyalwa Lhanangpa) ได ้สร้างโดเง็นซอง (Dho Ngen Dzong) ขึ้น ไม่กี่ปีต่อมาพาโจ ดรุคกอม ซกิ โป (Phajo Drukgom Zhigpo) นักบวชชาวทิเบตผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาสาย Drukpa Kagyu มายังประเทศภูฏาน
ภูฏานได้เข้ายึดป้อม ต่อมา พ.ศ. 2184 ซับดรุง งาวัง นัมเกล ได้เป็นผู้สืบทอดดูแลป้อมก่อนเปลี่ยนชื่อ ใหมเ่ ป็น ทาชิโซซอง หมายถึง ป้อมปราการแห่งศาสนาอันรุ่งโรจน์ (*ซง หมายถึงป้อมปราการ ในภาษาซงคา)
นอกจากนี้ บรเิวณป้อมยังมีสวนกุหลาบงามชชู่ต้อนรับผู้มาเยือนอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์ผ้าแห่งชาติ เป็นสถานที่จัดแสดงผ้าพื้นเมืองภูฏานอันวิจิตรงดงาม รวมถึงมงกุฎและฉลองพระองค์ของกษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายให้ความรู้เรื่องวิธีการทอผ้าและรูปแบบการแต่งกายพื้นเมืองให้นักท่องเที่ยวอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2544 ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีซังเก โชเดน วังชุก (Sangay Choden Wangchuck)