ภูฏานวัดระดับความมั่งคั่งของประเทศโดยใช้ระดับความสุขของประชาชนเป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ เรียกว่า ความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งเป็นคำที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก กษัตริย์องค์ที่สี่ของภูฏานทรงบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515
ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) เป็นวิธีการที่เน้นการพัฒนาแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายคือเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างสมดุลอันเป็นรากฐานสำคัญสำหรับความสุขของประชาชน
แนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาตินี้ประกอบด้วยสี่เสาหลักคือ
ประเทศภูฏานมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความสุขมากกว่าเน้นตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศ นโยบายแต่ละข้อของภูฏานต้องผ่านการรับรองว่าสอดคล้องกับนโยบายความสุขมวลรวมประขาชาติ ทำให้ภูฏานติดอันดับหนึ่งในสิบประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาตินี้ยังได้รับความนิยมในโลกตะวันตก และสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 20 มีนาคม เป็น วันความสุขสากล(The International Day of Happiness) ตามหลักการที่ว่าความสุขเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชนและวันนี้ยังกำหนดให้เป็นวันหยุดในประเทศภูฏานด้วย
อ้างอิงจาก What is “Gross National Happiness?” โดยมอร์เท่น ซอนเดอร์การ์ด